มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 5
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 5 | |
---|---|
มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย | |
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ | มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย ซีซันที่ 5 |
ประเภท | เรียลลิตี้ |
พิธีกร | ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ |
กรรมการ | ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ ขวัญทิพย์ เทวกุล พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
จำนวนตอน | 18 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์, บริษัท เฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป จำกัด |
ความยาวตอน | 110 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 เอชดี |
ออกอากาศ | 13 กุมภาพันธ์ 2565 – 19 มิถุนายน 2565 |
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 5 เป็นรายการเกมโชว์อาหารของประเทศไทยเป็นฤดูกาลที่ 5 โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นประชาชนหรือผู้พำนักอยู่ในประเทศไทย ไม่ได้ทำงานเป็นเชฟมืออาชีพไม่เคยเป็นเชฟมืออาชีพมาก่อน และไม่เคยเรียนหลักสูตรการทำอาหารเกิน 3 เดือน หรือ 180 ชั่วโมง[1][2] โดยเริ่มออกอากาศในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ทางช่อง 7 เอชดี[3][4][5]
กติกา
[แก้]รอบคัดเลือก (Auditions)
[แก้]ในรอบคัดเลือกนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 60 คน จะได้รับผ้ากันเปื้อนสีส้มเพื่อทำการแข่งขันในรอบนี้ โดยโจทย์การแข่งขัน คือ การแสดงทักษะขั้นพื้นฐานในการทำอาหารไทย จำนวน 2 รอบ โดยในรอบแรก คือ การทอดไข่ดาว และรอบที่สอง คือ การตำพริกแกงตามสีของสเตชัน ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำได้ตามโจทย์จะตกรอบทันที โดยกรรมการจะเข้าไปกระชากผ้ากันเปื้อนของผู้เข้าแข่งขันออก จนเหลือผู้ที่สามารถตำพริกแกงได้ตรงตามโจทย์ จะได้เป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริง และรับผ้ากันเปื้อนสีขาว
รอบคัดเลือกรอบนี้ ทางรายการได้มอบโอกาสที่สองแก่ผู้ที่ตกรอบบางคน ให้กลับเข้าแข่งขันอีกครั้ง ผ่านการแข่งขันสองรอบ ได้แก้ ภารกิจแบบทีม และบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ในรอบภารกิจแบบทีม จะต้องเลือกทีมและหัวหน้าทีมกันเอง โจทย์การแข่งขัน คือ การทำอาหารคาวและอาหารหวานจำนวนมากจากวัตถุดิบที่กำหนด ทีมที่ชนะจะได้รับสิทธิ์เลือกผู้เข้าแข่งขันบางคนรับผ้ากันเปื้อนและเข้ารอบทันที ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะต้องแข่งขันต่อกับทีมที่แพ้ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์เพื่อชิงผ้ากันเปื้อนที่เหลือ
รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนาและวัตถุดิบเสริมที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดมาชิมอีกครั้งที่โต๊ะของกรรมการและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ และจะไม่มีการคัดออกใด ๆ ในรอบนี้ ยกเว้นในบางรอบที่อาจมีการคัดออกในรอบนี้โดยกรรมการจะแจ้งให้ทราบทุกครั้งหากมีการคัดออกในรอบนี้ ในบางครั้ง หากมีการคัดออก จะคัดเลือกอาหารในกลุ่มที่แย่ที่สุดมาชิมอีกครั้งเพื่อหาผู้ที่ถูกคัดออก
รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 - 5 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ เมื่อหมดเวลาแล้วผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องนำจานอาหารของตนเองมาเสิร์ฟที่โต๊ะของกรรมการตามลำดับการเรียกชื่อของพิธีกร ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบการแข่งขันแบบทีมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมาในสถานการณ์และวัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันในแต่ละรอบ โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป
รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)
[แก้]ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีมจะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบการแข่งขันแบบทีมสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขัน
[แก้]ผู้เข้าแข่งขัน 27 คนสุดท้าย
[แก้]ชื่อ | อายุ[^] | ภูมิลำเนา | อาชีพก่อนเข้ามาแข่งขัน | ลำดับการแข่งขัน[^] | จำนวนชนะ |
---|---|---|---|---|---|
อังศ์กฤษฏิ์ เชื้ออ่ำ (อังกฤษ) | 42 | สมุทรปราการ | ว่างงาน | ชนะเลิศ วันที่ 19 มิถุนายน |
5 |
ชนิดาภา พรพินิต (แหม่ม) | 26 | กรุงเทพมหานคร | พนักงานบริษัท | รองชนะเลิศ วันที่ 19 มิถุนายน |
2 |
แบรด ชื่นสมทรง (แบรด) | 42 | กรุงเทพมหานคร | นักออกแบบสถาปัตยกรรม | ถูกคัดออก วันที่ 19 มิถุนายน |
2 |
ยุพดี สัตตะรุจาวงษ์ (ป้ายุพ) | 59 | กรุงเทพมหานคร | ช่างภาพและแม่บ้าน | 2 | |
ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์ (ลุงแดง) | 59 | ชัยภูมิ | ข้าราชการครู | ถูกคัดออก วันที่ 5 มิถุนายน |
3 |
จิรายุ เจษฎากรชัย (เจ๊ก) | 32 | แพร่ | ว่างงาน อดีตผู้ช่วยส่วนตัวสำหรับดูแลแขกเป็นรายบุคคล |
3 | |
พิมพ์ทิพย์ เป้าศิลา (เบลล์) | 30 | นนทบุรี | พนักงานบริษัทเอกชน | ถูกคัดออก วันที่ 29 พฤษภาคม |
1 |
จำเริญ สุธรรมโกศล (เริญ) | 47 | กรุงเทพมหานคร | วิศวกร | 3 | |
อนุวัฒน์ วัดพ่วง (นุ) | 28 | กรุงเทพมหานคร | ว่างงาน | ถูกคัดออก วันที่ 15 พฤษภาคม |
2 |
วรท พานิชวิทย์ พิณแพทย์ (ไม้ซุง) | 39 | นนทบุรี | ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาการบริการ | 5 | |
มิเชล เจนติลี (มิเชล) | 35 | นนทบุรี | พนักงานบริษัท | 3 | |
ธัชศินี เกียรติคุณพันธุ์ (แทส) | 24 | กรุงเทพมหานคร | นักลงทุน | 2 | |
ทอฝัน แม๊คเคย์ (ฮอลลี่) | 19 | อุดรธานี | นักศึกษา | 2 | |
สิทธิพร สุวรรณรัตน์ (โหน่ง) | 34 | ระยอง | เกษตรกร | ถูกคัดออก วันที่ 24 เมษายน |
1 |
พงษ์สุวรรณ รัตนสุวรรณ (ลุงตึ๋ง) | 61 | กรุงเทพมหานคร | ผลิตเพลง | ถูกคัดออก วันที่ 17 เมษายน |
2 |
ศรัณย์ อัศวานุชิต (อาร์ต) | 35 | กรุงเทพมหานคร | ผู้จัดการฝ่ายการตลาด | ถูกคัดออก วันที่ 10 เมษายน |
0 |
ศุภนาถ เต็มรัตน์ (ข้าวทิพย์) | 19 | กรุงเทพมหานคร | นักศึกษา | 1 | |
สุรวดี มีแสงพราว (แน่น) | 49 | กรุงเทพมหานคร | ธุรกิจส่วนตัว | 1 | |
อลิสา โถสัมฤทธิ์ (หยก) | 27 | ลพบุรี | แม่บ้าน | ถูกคัดออก วันที่ 3 เมษายน |
1 |
โสภณ ภูมิรัตนวงศ์ (เท็น) | 34 | ลพบุรี | เจ้าของธุรกิจซาลอน | 0 | |
สุรเชษฐ์ ช่วยแทน (หมู) | 34 | พัทลุง | ผู้ฝึกสอนดนตรี | 0 | |
เทพนิมิตร ปรีชาญาณ (ขวัญ) | 36 | บุรีรัมย์ | ค้าขาย | ถูกคัดออก วันที่ 27 มีนาคม |
0 |
ตฤณพงศ์ จุลพรรค์ (โอ๊ต) | 38 | เลย | ค้าขาย | ถูกคัดออก วันที่ 13 มีนาคม |
1 |
ทวีโชค ชาญณรงค์ (ต้น) | 31 | กรุงเทพมหานคร | รับจ้าง | ถูกคัดออก วันที่ 6 มีนาคม |
0 |
ไพลิน แจ้งประจักษ์ (เม็ดพลอย) | 25 | จันทบุรี | วีเจออนไลน์ | ถูกคัดออก วันที่ 27 กุมภาพันธ์ |
0 |
สุเมศ วิโรจน์ชัยยันต์ (เอม) | 47 | กรุงเทพมหานคร | ว่างงาน | 0 | |
แทนพล เลิศฤทธิ์เดชา (โจ) | 25 | มุกดาหาร | เจ้าของกิจการร้านวัสดุก่อสร้าง | 0 |
ข้อมูลการแข่งขัน
[แก้]ตารางการคัดออก
[แก้]อันดับ | ผู้เข้าแข่งขัน | ตอนที่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3 | 4 | 5 | 6 / 7 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14/15 | 15 | 16 | 17/18 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | อังกฤษ | สูง | ผ่าน | ผ่าน | กักตัว | กลับ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะเลิศ | |||||||||||||||||||||||||||
2 | แหม่ม | กักตัว | กลับ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | รองชนะเลิศ | ||||||||||||||||||||||||||||||
3 | แบรด | สูง | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ผ่าน | กักตัว | กลับ | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||
4 | ป้ายุพ | ผ่าน | สูง | ผ่าน | สูง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | กักตัว | ผ่าน | สูง | กดดัน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||
5 | ลุงแดง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||
เจ๊ก | กักตัว | กลับ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | เบลล์ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||
8 | เริญ | กักตัว | กลับ | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | นุ | ชนะ | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||
ไม้ซุง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ออก | ร่วม | ||||||||||||||||||||||||||||
มิเชล | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | เสี่ยง | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||
12 | แทส | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | เสี่ยง | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||
ฮอลลี่ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กักตัว | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | โหน่ง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | สูง | ผ่าน | เสี่ยง | ออก | ร่วม | |||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ลุงตึ๋ง | ผ่าน | สูง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ร่วม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | อาร์ต | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ร่วม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้าวทิพย์ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แน่น | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | หยก | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หมู | กักตัว | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เท็น | กักตัว | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ขวัญ | ต่ำ | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | โอ๊ต | เสี่ยง | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ต้น | ต่ำ | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | เม็ดพลอย | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอม | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โจ | ออก |
- (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
- (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ / Elimination test / Skill test )
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (การแข่งขันแบบตัวต่อตัว)
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีมและเข้ารอบทั้งทีม
- (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป ในการแข่งขันแบบคู่
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกันด้วย ผ้ากันเปื้อนสีทอง ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที.
- (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ในรอบทีม และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
- (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถเข้าแข่งขันในรอบทีมได้ และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันแบบคู่ที่ยืนเป็น 1 ในทีมที่แย่ที่สุด
- (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
- (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์
- (กักตัว) ผู้เข้าแข่งขันที่กักตัวระหว่างแข่งขัน
- (กลับ) ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว หรือถูกกักตัว แต่ได้รับโอกาสให้กลับเข้ามาแข่งขันอีกครั้ง
- (ร่วม) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแล้ว แต่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน
ข้อมูลการออกอากาศ
[แก้]ตอนที่ 1 : รอบคัดเลือก 1
[แก้]- ออกอากาศ 13 กุมภาพันธ์ 2565
- กรรมการรับเชิญ: ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ (เชฟอ๊อฟ), พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร (เชฟพฤกษ์), ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ (เชฟอาร์), ภาวิตา แซ่เจ้า (เชฟแอน), กันต์ยรัตน์ เพียรพอดีตน (เชฟบูม)
- ทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 60 คนต้องแสดงทักษะในครัวขั้นพื้นฐาน ด้วยการทอดไข่ดาว จำนวน 24 ฟอง ภายในเวลา 15 นาที โดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะได้รับไข่คนละ 1 แผง จำนวน 25 ฟอง ไข่ดาวที่ต้องการคือ ไข่ขาวต้องไม่ดิบ ไข่ดาวต้องไม่ไหม้ และไข่แดงต้องไม่แตก (เยิ้มหรือไม่ก็ได้) กรรมการหลักและกรรมการรับเชิญจะตรวจไข่ดาวของผู้เข้าแข่งขันเป็นระยะ หากไข่ดาวของผู้เข้าแข่งขันแตกมากกว่า 1 ฟองจะถูกคัดออกทันทีโดยการดึงผ้ากันเปื้อนของผู้เข้าแข่งขันออก และมีการตรวจสอบโดยละเอียดทุกการพักการแข่งขันทุก 5 นาที เมื่อหมดเวลาแล้ว หากมีไข่ดาวที่สมบูรณ์ไม่ครบ 24 ฟองจะถูกคัดออก
- ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: เริญ, อังกฤษ, คุณแดง, เจ๊ก, ขวัญ, เม็ดพลอย, คุณตึ๋ง, หมู, วาเนสซ่า, อาร์ต, หยก, ต้น, มิเชล, ภูเขา, เบลล์, แหม่ม โอ๊ค, ยู, นุ, กู๊ดดี้, ข้าวทิพย์, เท็น, บอย, แอน, ไม้ซุง, น้ำชา, เบียร์, คิว, โจ, ลูกหมี
- ทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 30 คน จะต้องเลือกสเตชันในการทำอาหาร โดยในรอบนี้จะมีอยู่ 3 สี ได้แก่ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ซึ่งแต่ละสเตชันจะมีโจทย์ที่แตกต่างกัน นั่นคือ การทำพริกแกง 3 ชนิดในเวลา 30 นาที โดยผู้ที่เลือกสเตชันสีเหลืองจะต้องทำพริกแกงเหลือง ผู้ที่เลือกสเตชันสีเขียวจะต้องทำพริกแกงเขียวหวาน และผู้ที่เลือกสเตชันสีแดงจะต้องทำพริกแกงฉู่ฉี่ โดยเกณฑ์การตัดสิน คือ พริกแกงไม่หยาบ, สีของพริกแกงถูกต้องชัดเจน และมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 250 กรัม ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะต้องเลือกวัตถุดิบสำหรับทำพริกแกงในโจทย์ที่ตนเองได้รับภายใน 5 นาที และห้ามปรึกษากัน ผู้ที่ใส่ส่วนผสมผิดหรือไม่ครบจะถูกคัดออกทันที ผู้ที่สามารถทำได้ครบถ้วนจะเป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริงทันที
- ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: เม็ดพลอย, แหม่ม, หมู, ข้าวทิพย์, คุณแดง, เท็น, อังกฤษ, เจ๊ก, โจ, เริญ, คุณตึ๋ง, อาร์ต
ตอนที่ 2 - 3 : รอบคัดเลือก 2
[แก้]- ออกอากาศ 20 และ 27 กุมภาพันธ์ 2565
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: ในสัปดาห์นี้เป็นการแข่งขันของผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว และได้รับโอกาสแก้ตัว จำนวน 24 คน โดยบททดสอบในรอบแรก คือ บททดสอบภารกิจแบบทีม ซึ่งได้แบ่งออกเป็นสองทีม คือ ทีมสีชมพู และทีมสีฟ้า ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องเลือกทีมกันเอง
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
เอม | ไม้ซุง, หยก, แน่น, มิเชล, ภูเขา, แทส, ต้น, แอน, ฝนหลิว, ฮอลลี่, นุ |
โหน่ง | คุณยุพ, ขวัญ, เบียร์, แบรด, โอ๊ต, กิมแจ้, เบลล์, น้ำชา, ยู, บอย, เมาะ |
โดยทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารจานหลักจากวัตถุดิบ เนื้อแองกัส ส่วนริบอาย จากประเทศออสเตรเลีย และ ปูม้า จากทะเลอันดามัน และอาหารหวานจากวัตถุดิบ ลูกตาล จากจังหวัดเพชรบุรี เสิร์ฟกรรมการซึ่งเป็นเชฟมืออาชีพ นักชิมและนักวิจารณ์อาหารชื่อดังของประเทศไทย จำนวน 50 คน ภายในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที แต่จะต้องเสิร์ฟอาหารจานหลักในเวลา 2 ชั่วโมง ในระหว่างการทำอาหาร หัวหน้าทีมสีฟ้าไม่สามารถควบคุมทีมได้ จึงมีการเปลี่ยนหัวหน้าทีมเป็น แบรด เมื่อถึงเวลา 2 ชั่วโมง ที่จะต้องเสิร์ฟอาหารจานหลัก ทีมสีฟ้ามีอาหารที่ไม่สมบูรณ์จำนวน 10 จาน และทีมสีชมพูมีอาหารที่ไม่สมบูรณ์จำนวน 16 จาน ซึ่งจานเหล่านี้ไม่สามารถเสิร์ฟกรรมการได้ สำหรับขนมหวาน ทั้งสองทีมสามารถเสิร์ฟได้ครบถ้วน โดยผลจากการตัดสินทีมที่ชนะคือ ทีมสีชมพู ชนะไปด้วยคะแนน 29 ต่อ 21
- ทีมที่ชนะ: สีชมพู
จากชัยชนะของทีมสีชมพู ส่งผลให้ทีมสีฟ้าทั้งทีมต้องแข่งขันต่อในรอบถัดไป ส่วนทีมสีชมพู เนื่องจากอาหารของทั้งสองทีมยังไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้กรรมการเล็งเห็นว่าจะมอบผ้ากันเปื้อนให้ทีมสีชมพูจำนวน 7 ผืนเท่านั้น และให้ทีมสีชมพูปรึกษากันภายในทีม ซึ่งทีมสีชมพูได้ข้อสรุปว่าจะให้ นุ, ต้น, แทส, หยก, มิเชล, ไม้ซุง และฮอลลี่ ได้รับผ้ากันเปื้อนในรอบนี้ ขณะที่กรรมการเห็นด้วยกับทีมเพียง 2 คนเท่านั้น แต่เนื่องจากสมาชิกที่เหลือไม่ต่อสู้เพื่อคว้าโอกาสเอง ทำให้ผู้ที่ถูกเลือกทั้ง 7 คนได้รับผ้ากันเปื้อน ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 5 คนจะต้องไปแข่งขันกันต่อในรอบถัดไป
- ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: นุ, ต้น, แทส, หยก, มิเชล, ไม้ซุง, ฮอลลี่
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 17 คน จะต้องแข่งขันกันต่อด้วยวัตถุดิบหลัก "หอยขม" ในเวลา 60 นาที เพื่อหาผู้เข้าแข่งขันเข้ารอบเพิ่มเติม หอยขมที่รายการเตรียมให้อยู่ในบ่อโคลน และจะต้องทำความสะอาดด้วยตัวเอง ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบในรอบนี้ คือ คุณยุพ, โหน่ง, แน่น, เบลล์, เอม, โอ๊ต, แบรด และ ขวัญ
- ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: คุณยุพ, โหน่ง, แน่น, เบลล์, เอม, โอ๊ต, แบรด, ขวัญ
ตอนที่ 3 : กล่องปริศนาสีดำกับวัตถุดิบสีดำ
[แก้]- ออกอากาศ 27 กุมภาพันธ์ 2565
- การแข่งกล่องปริศนา: จากผู้เข้าแข่งขันจำนวน 27 คน เนื่องจากมีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 5 คนที่เสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด 19 ได้แก่ เจ๊ก, เท็น, หมู, เริญ และแหม่ม จึงไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ ในกล่องปริศนามีวัตถุดิบสีดำ ได้แก่ ไก่ดำ ไข่เยี่ยวม้า เฉาก๊วย ข้าวกล้องสีนิล ทรัฟเฟิล มะกอกดำ เห็ดหอม สาหร่าย แบล็คเบอร์รี่ หมึกดำ และดาร์กช็อกโกแลต และในลิ้นชักของผู้เข้าแข่งขัน มีผ้ากันเปื้อนสีดำให้เปลี่ยน นั่นหมายความว่าจะมีผู้เข้าแข่งขันถูกคัดออก โดยในรอบนี้จะถูกคัดออกจำนวน 5 คน หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันแล้ว มี 7 จานที่ผิดพลาดมากที่สุด ได้แก่ โจ ทำไก่ดิบทำให้กรรมการไม่สามารถชิมได้, เอม ไก่ดำสุกเกินไป และรสชาติโดยรวมไม่เข้ากัน, โอ๊ต มีปัญหาเรื่องรสชาติที่อ่อนเกินไป, ขวัญ เสิร์ฟข้าวดิบ ทำให้กรรมการไม่สามารถชิมได้, แทส มีปัญหาด้านการปรุงรส, ต้น ไก่สุกเกินไป แต่ข้าวดิบ, เม็ดพลอย เมนูไม่มีตัวเชื่อม ทำให้รสชาติไปคนละทาง ส่วนจานที่ดีที่สุด 3 จาน คือ อังกฤษ, แบรด และ นุ โดยผู้ชนะ คือ นุ และจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เลือกผู้เข้าแข่งขัน 2 คน ให้อยู่ต่อ โดยนุได้เลือก ต้น และขวัญ จากนั้น กรรมการเลือกผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่จะต้องออกจากการแข่งขัน คือ โจ เอม และเม็ดพลอย
- ผู้ชนะ: นุ
- ผู้ที่ตกอยู่ในอันดับผลงานแย่ที่สุด: โอ๊ต, เอม, โจ†, เม็ดพลอย, ต้น†, แทส, ขวัญ†
- ผู้ที่ถูกคัดออก: โจ เอม และเม็ดพลอย
หมายเหตุ † หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกทิ้งอาหารโดยไม่มีการชิมในการแข่งขันนั้น
ตอนที่ 4 : วัตถุดิบสุดโหดร้าย
[แก้]- ออกอากาศ 6 มีนาคม 2565
- การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 19 คน ต้องพบกับกล่องปริศนา ซึ่งในรอบนี้เป็นโจทย์ของโฮมคุกที่ประสบความสำเร็จและเป็นเชฟแถวหน้าของประเทศไทย เชฟตุ๊กตา สุพัตรา สารสิทธิ์ เจ้าของร้านบ้านยี่สาร วัตถุดิบในกล่อง เป็นวัตถุดิบพื้นบ้านของไทย ประกอบไปด้วย ประกอบด้วย กุ้งแม่น้ำ ปลาหมอ ใบชะคราม ลูกตำลึง เห็ดเผาะ ผักขี้หูด มะรุม มะดัน มะอึก มะเฟือง ยอดมะพร้าว และเม็ดสาคู ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารให้มีความโดดเด่น ในเวลา 60 นาที เมื่อกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว สามจานที่ดีที่สุดในรอบนี้เป็นของ คุณยุพ คุณตึ๋ง โอ๊ต และผู้ชนะ คือ โอ๊ต
- ผู้ชนะ: โอ๊ต
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่ โอ๊ต เป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา โอ๊ตจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เขาจะได้ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขัน และสามารถเลือกเพื่อนอีก 8 คนให้ผ่านเข้ารอบไปกับเขาโดยการนำลูกโป่งหัวใจไปมอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่เลือกให้ผ่านเข้ารอบไปด้วย โดยโอ๊ตได้เลือก คุณแดง คุณยุพ คุณตึ๋ง อังกฤษ แน่น ฮอลลี่ ข้าวทิพย์ และแทส ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีก 10 คน จะต้องแข่งขันกันต่อโดยใช้วัตถุดิบหลัก คือ หัวใจวัว ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีในการทำอาหารและเวลา 5 นาทีในการเลือกวัตถุดิบในซูเปอร์มาร์เก็ต หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดแล้ว ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาได้ไม่ดีจำนวน 4 คน คือ หยก นุ ต้น ขวัญ โดย หยกและนุ พลาดในเรื่องรสชาติ และการชูวัตถุดิบหลัก แต่ในด้านความคิดสร้างสรรค์ ทั้งคู่ทำออกมาได้ดีกว่าอีกสองจาน จึงทำให้ยังไม่ใช่จานที่แย่ที่สุด ส่วนต้น ทำเครื่องแกงไหม้และหยาบ มีรสชาติที่ขมมาก และความคิดสร้างสรรค์ไม่ดี และขวัญ ทำขนมสาคูออกมายังขาดความคิดสร้างสรรค์ เครื่องแกงเผ็ดที่เสิร์ฟมามีรสชาติที่ปร่า ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ ต้น
- ผู้ที่ตกอยู่ในอันดับผลงานแย่ที่สุด: หยก นุ ต้น ขวัญ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ต้น
ตอนที่ 5 : การทำอาหารจากขาหมู
[แก้]- ออกอากาศ 13 มีนาคม 2565
- การแข่งกล่องปริศนา: เนื่องจาก อังกฤษ หนึ่งในผู้เข้าแข่งขัน อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด 19 ทำให้ต้องกักตัว ไม่สามารถทำการแข่งขันได้ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 17 คน จะต้องแข่งขันกันต่อ โดยกล่องปริศนาในรอบนี้ คือ ร้านขาหมูตรอกซุง ร้านข้าวขาหมูชื่อดังย่านบางรัก เปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 มาสาธิตการทำข้าวขาหมู ซึ่งโจทย์การแข่งขันในรอบนี้ คือ การสร้างสรรค์เมนูจากขาหมู แต่ในรอบนี้ มีเวลาเพียง 50 นาทีเท่านั้น โดยหลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน จานที่ดีที่สุด 3 จาน เป็นของ คุณยุพ, แบรด และไม้ซุง โดยผู้ชนะในรอบนี้ คือ ไม้ซุง
- ผู้ชนะ: ไม้ซุง
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่ ไม้ซุง ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ และมีสิทธิ์เลือกวัตถุดิบ 1 ชนิด จาก 2 ชนิด ได้แก่ หางวัว และไก่บ้าน ให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ซึ่งไม้ซุงได้เลือก ไก่บ้าน เป็นวัตถุดิบในการแข่งขันรอบนี้ และสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขัน 5 คน ให้ผ่านเข้ารอบไปกับเขา โดยเขาได้เลือก นุ มิเชล ข้าวทิพย์ ขวัญ และฮอลลี่ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือมีเวลา 60 นาที ในการแข่งขันครั้งนี้ ระหว่างการทำอาหาร สิทธิพิเศษข้อสุดท้ายของไม้ซุง คือ สามารถตัดเวลาผู้เข้าแข่งขัน 20 นาที แก่ผู้เข้าแข่งขัน 5 คน โดยไม้ซุงเลือก อาร์ต โอ๊ต คุณยุพ หยก และแบรด หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว มีอยู่ 2 จานที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด คือ โอ๊ตและโหน่ง โดยโอ๊ต เสิร์ฟไก่ดิบ ทำให้คณะกรรมการไม่สามารถชิมได้ และโหน่ง แป้งพายสุกไม่สม่ำเสมอทั้งชิ้น ไก่สุกเกินไป และแกงมีรสชาติหวานเกินไป ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ โอ๊ต
- ผู้ที่ตกอยู่ในอันดับผลงานแย่ที่สุด: โอ๊ตและโหน่ง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: โอ๊ต
ตอนที่ 6 - 7 : การแข่งขันแบบตัวต่อตัว
[แก้]- ออกอากาศ 20 และ 27 มีนาคม 2565
- การแข่งขันแบบตัวต่อตัว: ในสัปดาห์นี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งขันกันเป็นคู่โดยจะต้องจับคู่กันเอง ซึ่งผู้เข้าข่งขันได้เลือกคู่ดังนี้
สีของทีม | สมาชิก |
---|---|
สีแดง | คุณตึ๋งและเบลล์ |
สีเขียว | แบรดและแน่น |
สีน้ำเงินอ่อน | ไม้ซุงและนุ |
สีน้ำเงิน | ฮอลลี่และขวัญ |
สีชมพู | แทสและหยก |
สีม่วง | ข้าวทิพย์และโหน่ง |
สีเหลือง | คุณแดงและคุณยุพ |
สีส้ม | มิเชลและอาร์ต |
ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 เมนู โดยเลือกวัตถุดิบได้แค่ 16 อย่างเท่านั้น ก่อนที่จะเข้าไปเลือกวัตถุดิบรายการให้เวลา 10 นาทีในการประชุม หลังจากที่เลือกวัตถุดิบเสร็จแล้วรายการได้เปลี่ยนกติกาให้แต่ละคู่แข่งขันกันเอง โดยการเสี่ยงดวงเลือกมีดคนละเล่ม ผู้ที่หยิบมีดที่มีโลโก้ MasterChef จะได้เลือกวัตถุดิบจำนวน 7 อย่าง ส่วนวัตถุดิบที่เหลือจะตกเป็นของอีกคนในคู่ทันที ซึ่งผู้ที่หยิบมีดที่มีโลโก้ MasterChef ได้แก่ คุณตึ๋ง แน่น นุ ขวัญ หยก โหน่ง คุณยุพ มิเชล มีเวลา 60 นาทีในการทำอาหาร ผู้ชนะจะได้ผ่านเข้ารอบทันที ส่วนผู้แพ้จะต้องแข่งขันกันต่อในรอบต่อไปพร้อมผ้ากันเปื้อนสีดำ
- ผู้ชนะ: คุณตึ๋ง แบรด ไม้ซุง คุณยุพ ฮอลลี่ แทส ข้าวทิพย์ มิเชล
- บททดสอบภารกิจแบบคู่: ผู้เข้าแข่งขันที่แพ้จากรอบที่แล้วทั้ง 8 คน จะต้องแข่งขันกันเป็นคู่โดยจะต้องจับคู่เอง ซึ่งผู้เข้าแข่งขันได้เลือกคู่ดังนี้
สีของทีม | สมาชิก |
---|---|
สีแดง | นุและขวัญ |
สีเหลือง | คุณแดงและแน่น |
สีเขียว | หยกและเบลล์ |
สีน้ำเงิน | โหน่งและอาร์ต |
ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 เมนู โดยเลือกวัตถุดิบได้เพียง 16 อย่างเท่านั้น ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 10 นาทีในการเลือกวัตถุดิบ แต่ทั้งสองคนจะต้องทำอาหารจานเดียวกันโดยทำอาหารอยู่คนละ station ในรอบนี้ station จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คั่นด้วยชั้นวางอุปกรณ์ ดังนั้นทั้งสองคนจะไม่สามารถเห็นความเคลื่อนไหวของคู่ของตัวเองได้ แต่สามารถสื่อสารข้ามกันได้ เกณฑ์การตัดสินในรอบนี้คือ รสชาติ ความคิดสร้างสรรค์ และความเหมือนกันของจานอาหาร (รสชาติ การแต่งจาน องค์ประกอบที่ครบถ้วน) มีเวลา 60 นาทีในการทำอาหารจานนี้เพื่อคัดคนที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดจากทีมที่มีผลงานแย่ที่สุด 1 คนออกจากการแข่งขัน
- ผู้ชนะ: หยกและเบลล์
- ผู้ที่ตกเป็นทีมที่แย่ที่สุด: นุและขวัญ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ขวัญ
ตอนที่ 7 : การแข่งขันทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร
[แก้]- ออกอากาศ 27 มีนาคม 2565
- บททดสอบทักษะการทำอาหาร: ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 15 คนจะต้องแสดงทักษะในการทำอาหารผ่านโจทย์การแข่งขันทั้ง 3 รอบ โดยแต่ละรอบผู้ที่ทำผลงานได้สมบูรณ์และรวดเร็วที่สุด 3 คนจะได้ผ่านเข้ารอบโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบต่อไป โดยแต่ละรอบมีเวลารอบละ 30 นาที และสามารถส่งผลงานได้ทุกเมื่อตลอดเวลาการแข่งขัน หากผลงานของผู้เข้าแข่งขันไม่ตรงตามโจทย์จะถูกเททิ้งและต้องกลับไปทำใหม่ตั้งแต่ต้น ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจำนวน 6 คนจะต้องแข่งขันต่อในรอบต่อไปเพื่อคัดออก
- รอบที่ 1: ผู้เข้าแข่งขันต้องแสดงทักษะโดยการซอยหอมหัวใหญ่ให้ได้น้ำหนักอย่างน้อย 1 กิโลกรัม และต้องมีความหนาไม่เกิน 1 มิลลิเมตร
- ผู้ชนะ: คุณแดง, คุณตึ๋ง และแทส
- รอบที่ 2: ผู้เข้าแข่งขันต้องแสดงทักษะโดยการขูดเนื้อปลากรายออกมาให้ได้น้ำหนักอย่างน้อย 500 กรัม โดยต้องไม่มีก้าง เกล็ดและหนังปลาติดมา
- ผู้ชนะ: แน่น, มิเชล และฮอลลี่
- รอบที่ 3: ผู้เข้าแข่งขันต้องแสดงทักษะโดยการทำผัดกะเพราหมูสับไข่ดาว จำนวน 3 จาน โดยหมูสับจะต้องสับได้ละเอียด เนื้อหมูนุ่ม ไม่กระด้าง รสชาติกลมกล่อม หอมกลิ่นใบกะเพราชัดเจน ไข่ดาวสุก ขอบนอกกรอบและไข่แดงไหลเยิ้ม
- ผู้ชนะ: แบรด, โหน่ง และไม้ซุง
ตอนที่ 8 : การแข่งขันของผู้เข้าแข่งขันที่ถูกกักตัว
[แก้]- ออกอากาศ 3 เมษายน 2565
- การแข่งกล่องปริศนา: จากบททดสอบทักษะการทำอาหาร มีผู้เข้าแข่งขัน 6 คนที่เหลืออยู่ ได้แก่ นุ คุณยุพ อาร์ต หยก ข้าวทิพย์ และเบลล์ จะต้องแข่งขันกันต่อด้วยโจทย์กล่องปริศนาสีดำ โดยภายในกล่องมีผู้เข้าแข่งขันที่กลับมาจากการกักตัวจำนวน 6 คน ได้แก่ เจ๊ก เท็น หมู เริญ แหม่ม และอังกฤษ และเนื่องจากพวกเขาไม่พบเชื้อ รายการจึงให้โอกาสอีกครั้ง วัตถุดิบหลักในการแข่งขันรอบนี้ คือ ตีนวัว มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขันนี้ หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว มีผู้เข้าแข่งขัน 6 คนที่เป็นจานที่ดีที่สุดได้ผ่านเข้ารอบ ได้แก่ ข้าวทิพย์ อาร์ต แหม่ม เจ๊ก อังกฤษ และนุ จากนั้น คณะกรรมการได้ลงความเห็นว่าจะมีผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออก จำนวน 3 คน จาก 6 คนที่เหลือ ได้แก่ เท็น หมู และหยก
- ผู้ที่ตกอยู่ในอันดับผลงานแย่ที่สุด: เท็น คุณยุพ เบลล์ หยก เริญ และหมู
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เท็น หมู และหยก
ตอนที่ 9 : ศึกชิงวัตถุดิบ
[แก้]- ออกอากาศ 10 เมษายน 2565
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 18 คน จะต้องเลือกวัตถุดิบหลัก 1 อย่าง จาก 6 อย่าง อย่างละ 3 ชุด ได้แก่ แคนาเดียนล็อบสเตอร์ หมึกกระดอง พอร์คชอป เห็ดพอร์โทเบลโล ขาแกะ และตีนห่าน ซึ่งวัตถุดิบทั้งหมดจะอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 5 นาทีในการเลือกวัตถุดิบในซูเปอร์มาร์เก็ต และเวลา 55 นาทีในการทำอาหาร โดยวัตถุดิบแต่ละอย่างจะซ่อนอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของซูเปอร์มาร์เก็ต และต้องแย่งวัตถุดิบกันเอง ในรอบนี้ ฮอลลี่ ไม้ซุง และเบลล์ ได้เลือกแคนาเดียนล็อบสเตอร์ อาร์ต นุ และข้าวทิพย์ เลือกหมึกกระดอง แบรด เจ๊ก และคุณแดง เลือกพอร์คชอป แหม่ม โหน่ง และแน่น เลือกขาแกะ อังกฤษ มิเชล และแทส เลือกเห็ดพอร์โทเบลโล ส่วนตีนห่านที่ไม่มีใครสนใจ เริญ คุณยุพ และคุณตึ๋ง เป็นผู้รับวัตถุดิบชิ้นนี้ หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว มี 5 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุด ได้แก่ แบรด ข้าวทิพย์ อาร์ต เบลล์ และแน่น โดยผลงานของแบรด และเบลล์ ขาดความคิดสร้างสรรค์ แต่ยังมีองค์ประกอบที่ใช้ได้และมีรสชาติที่ดี ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในวันนี้ คือ ข้าวทิพย์ อาร์ต แน่น ส่วน 2 คนที่ทำผลงานได้ดีที่สุด คือ โหน่งและเริญ (ทั้งนี้รายการประกาศผลผู้ชนะในสัปดาห์ต่อไป)
- ผู้ชนะ: เริญ
- ผู้ที่ตกอยู่ในอันดับผลงานแย่ที่สุด: แบรด ข้าวทิพย์ อาร์ต เบลล์ และแน่น
- ผู้ที่ถูกคัดออก:ข้าวทิพย์ อาร์ต แน่น
ตอนที่ 10: การทำอาหารญี่ปุ่น
[แก้]- ออกอากาศ 17 เมษายน 2565
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม และเนื่องจากฮอลลี่ เป็นผู้เข้าแข่งขันที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จึงไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ และมีโอกาสยากที่จะได้รับโอกาสที่จะกลับเข้ามาแข่งขันอีก ทั้ง 14 คนที่เหลือ จะต้องแข่งขันกันเป็นทีม ซึ่งในรอบที่แล้ว โหน่ง และเริญ คือผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด จะต้องเป็นหัวหน้าทีม และได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีม จำนวน ทีมละ 4 คนเท่านั้น ส่วนผู้ที่ไม่ถูกเลือก จะต้องไปแข่งขันกันต่อในรอบต่อไป
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
เริญ | เจ๊ก, ไม้ซุง, นุ, มิเชล |
โหน่ง | แบรด, อังกฤษ, เบลล์, แหม่ม |
โจทย์ที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ คือ อาหารญี่ปุ่นในรูปแบบเบนโต 5 ช่อง มีวัตถุดิบหลักได้แก่ เนื้อวากิว A5 ปูทาราบะ โฮตาเตะ และปลาคินเมะได จำนวน 10 ที่ มีเวลา 60 นาที ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ถูกเลือก จะได้สิทธ์เป็นผู้ร่วมตัดสิน พร้อมกับกรรมการรับเชิญอีก 2 ท่าน คือ เชฟพฤกษ์ พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร และเชฟอ๊อฟ ณัฐวุฒิ ธรรมพันธ์ กรรมการรับเชิญและผู้เข้าแข่งขัน 4 คนที่ไม่ถูกเลือกจะชิมโดยไม่ทราบว่าจานไหนเป็นของทีมใด เมนูของทีมสีแดงคือ "เสียงคำรามจากโชกุน" ประกอบไปด้วย หอยโฮตาเตะอบเนย ข้าวหน้าเนื้อวากิว ก้ามปูทาราบะย่างเสิร์ฟพร้อมไอศกรีมมันปู ปลาคินเมะไดทอดราดซอสหวาน สลัดเต้าหู้อ่อนและกิมจิ และเมนูของทีมสีน้ำเงินคือ "เสียงกระซิบของเกอิชา" ประกอบไปด้วย ข้าวผัดกระเทียม ปลาเทมปุระ เนื้อทาตากิ สลัดเต้าหู้และหอยโฮตาเตะ ของหวานเป็นครีมมันบดข้าวโพดเนื้อปู โดยผลจากคณะกรรมการได้ลงคะแนน ทีมสีแดง เป็นฝ่ายชนะ ด้วยคะแนน 7 ต่อ 3
- ทีมที่ชนะ: ทีมสีแดง
- รอบกำจัดคนออก: ในรอบกำจัดคนออกทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม และผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนที่ไม่ได้ถูกเลือกจะต้องเข้าแข่งขันในรอบกำจัดคนออก บททดสอบในรอบนี้ คิอ บททดสอบการจัดการเวลา โดยผู้เข้าแข่งขันที่ทำเสร็จก่อนเป็นคนแรก จะต้องมากดปุ่ม และผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ จะต้องทำอาหารให้เสร็จในเวลา 2 นาทีต่อมา วัตถุดิบหลักในรอบนี้ คือ กึ๋นไก่ โดยผู้เข้าแข่งขันที่กดปุ่มเป็นคนแรก คือ คุณยุพ หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันแล้ว มี 3 คนที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด ได้แก่ คุณแดง โหน่ง และคุณตึ๋ง และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ คุณตึ๋ง
- ผู้ที่ตกอยู่ในอันดับผลงานแย่ที่สุด: คุณแดง โหน่ง คุณตึ๋ง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: คุณตึ๋ง
ตอนที่ 11: การทำอาหารจากน้ำปลาร้า
[แก้]- ออกอากาศ 24 เมษายน 2565
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ผู้เข้าแช่งขันที่เหลือทั้ง 13 คน จะต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยจะต้องมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ซึ่งบททดสอบในรอบนี้ คือ การยกระดับน้ำปลาร้า ยี่ห้อแซ่บไมค์ โดย ไมค์ ภิรมย์พร ทำให้เป็นเมนูที่คนทั้งโลกชื่นชอบและยอมรับให้ได้ มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน ผู้ที่ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ ผ้ากันเปื้อนทองคำ ซึ่งผู้ที่ได้รับจะได้สิทธิพิเศษ คือ สามารถคุ้มกันผู้เข้าแข่งขัน 1 คนหรือตัวเอง ให้ไม่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์ต่อไป 3 คนที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในรอบนี้ คือ แบรด คุณยุพ และเบลล์ 3 ผู้ชนะคือ คุณยุพ ได้ผ้ากันเปื้อนสีทอง หรือ ผ้ากันเปื้อนภูมิคุ้มกัน ส่วนคนที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด คือ เริญ แทส และโหน่ง และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ โหน่ง
- ผู้ที่ทำผลงานดีที่สุด: แบรด คุณยุพ และเบลล์
- ผู้ชนะ: คุณยุพ (ที่ได้ผ้ากันเปื้อนสีทอง)
- ผู้ที่ตกอยู่ในอันดับผลงานแย่ที่สุด: เริญ แทส และโหน่ง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: โหน่ง
- การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 12 คน จะต้องแข่งขันกันต่อในโจทย์กล่องปริศนา เนื่องจากหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ หนึ่งในคณะกรรมการ ติดภารกิจในการเตรียมโจทย์การแข่งขันในสัปดาห์หน้า คุณป๊อก ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ จึงทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินในรอบนี้แทน ในกล่องปริศนารอบนี้ มีกาแฟเอสเปรสโซ 3 แก้ว ได้แก่ อิสตันบูล ริโอ เดอ จาเนโร และปารีส ซึ่งโจทย์ในรอบนี้คือการสร้างสรรค์ขนมหวานที่กินร่วมกับกาแฟรสชาติใดรสชาติหนึ่ง ที่กินคู่กันได้อย่างลงตัว ในเวลา 60 นาที ผู้ที่ทำได้ดีที่สุดในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษ ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด 3 คน คือ อังกฤษ แหม่ม และนุ ผู้ชนะ คือ อังกฤษ
- ผู้ชนะ: อังกฤษ
ตอนที่ 12: Team Challenge ทำอาหารเลี้ยงหน่วยกู้ภัย
[แก้]- ออกอากาศ 8 พฤษภาคม 2565
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม และเนื่องจากคุณยุพและแบรด เป็นผู้เข้าแข่งขันที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จึงไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ และมีโอกาสยากที่จะได้รับโอกาสที่จะกลับเข้ามาแข่งขันอีก แต่คุณยุพจะได้รับสิทธิ์กลับเข้ามาแข่งในสัปดาห์ต่อไปจากสิทธิพิเศษของผ้ากันเปื้อนภูมิคุ้มกัน ในการแข่งขันครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน จะต้องแข่งขันกันเป็นทีม ซึ่งในรอบที่แล้ว อังกฤษ และนุ คือผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด จะต้องเป็นหัวหน้าทีม และอังกฤษจะได้รับสิทธิ์เลือกลูกทีมแต่เพียงผู้เดียว
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
อังกฤษ | ไม้ซุง, เจ๊ก, เริญ, แหม่ม |
นุ | คุณแดง, มิเชล, แทส, เบลล์ |
ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมจะต้องจัดงานเลี้ยงขอบคุณให้ทีมกู้ชีพและกู้ภัยของมูลนิธิต่าง ๆ โดยจะต้องทำอาหารจานหลัก 1 จาน กินคู่กับซุปหรือแกง ซึ่งจะต้องเป็นอาหารที่แปลกใหม่ ไม่เคยกินมาก่อน มีปริมาณที่อิ่มท้อง มีรสชาติ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด ให้ทีมกู้ภัยจำนวน 101 คน มีเวลา 2 ชั่วโมงในการเตรียมอาหาร และ 30 นาทีในการจัดเสิร์ฟ เมนูของทีมสีแดงคือ "สมรศรีท่องอิตาลี" ประกอบไปด้วยจานหลัก พาสตาผัดซอสกะปิแซลมอน กินคู่กับหมูหวานและผัก และซุปต้มแซ่บหมึกน้ำดำ ส่วนเมนูของทีมสีน้ำเงิน คือ "แซ่บนานาชาติ" ประกอบไปด้วยจานหลัก ลาบปลาแซลมอน กินกับเส้นใหญ่และเส้นพาสตา กับหมูกรอบเค็ม และซุปโคชูจังตีนไก่ผสมปลาหมึกสไตล์เกาหลี หลังจากที่ทีมกู้ภัยทั้ง 101 คนได้ชิมอาหารของทั้งสองทีม ทีมที่ชนะ คือ ทีมสี แดง ชนะไปด้วยคะแนน 52 ต่อ 49 ก่อนที่จะประกาศคะแนน ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมจะต้องประชุมว่าใครในทีมคือผู้ที่มีความผิดพลาดมากที่สุด โดยทีมสีแดงได้เลือกแหม่มและเริญ ส่วนทีมสีน้ำเงินได้เลือกมิเชลและแทส โดยกรรมการได้ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองคนตกรอบ แต่จะได้รับสิทธิ์ให้แข่งขันกับผู้เข้าแข่งขันที่ถูกกักตัว ได้แก่ ฮอลลี่และแบรด
- ทีมที่ชนะ: ทีมสีแดง
ตอนที่ 13: Pressure Test ทำอาหารพร้อมเชฟ
[แก้]- ออกอากาศ 15 พฤษภาคม 2565
- บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากที่ทีมสีน้ำเงินแพ้ในภารกิจแบบทีม และได้เลือกแทสและมิเชลเป็นผู้ที่มีความผิดพลาดมากที่สุด ทำให้ต้องมาเจอกับบททดสอบความละเอียดและแม่นยำ ร่วมกับผู้เข้าแข่งขันที่ถูกกักตัวอีก 2 คน ได้แก่ ฮอลลี่และแบรด ส่วนคุณยุพไม่ต้องทำการแข่งขันในรอบนี้จากสิทธิพิเศษของผ้ากันเปื้อนภูมิคุ้มกัน ทั้ง 4 คนจะต้องเจอบททดสอบที่ไม่เคยมีมาก่อนในมาสเตอร์เชฟประเทศไทย นั่นคือ การทำอาหารไปพร้อมกับเชฟ โดยในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้รับสูตรและวิธีการทำใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะต้องทำอาหารทุกขั้นตอนไปพร้อม ๆ กับเชฟเอียน และจะต้องทำให้เสร็จภายใน 1 นาทีหลังจากที่เชฟเอียนทำเสร็จ ซึ่งเมนูที่จะต้องทำ คือ พอร์กช็อปคลุกฝุ่น ประกอบด้วยพอร์กช็อปยัดไส้น้ำพริกลาบเมือง (ลาบภาคเหนือ) ชุบแป้งทอดคลุกผงข้าวคั่ว เสิร์ฟพร้อมกับ Onion Bloom รสลาบและซอสแจ่วมัลเบอร์รี โดยพอร์กช็อปจะต้องสุกทั่วทั้งชิ้น ไส้ไม่แตกทะลักและมีปริมาณที่เหมาะสม Onion Bloom จะต้องเหมือนต้นฉบับและมีสีเหลืองทอง และรสชาติขององค์ประกอบทั้งหมดเหมือนต้นฉบับ ทั้งนี้รายการได้เตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ไว้ให้แล้ว รวมถึงแทบเล็ตสำหรับดูเชฟทำ ในรอบนี้มีผู้เข้าแข่งขันถูกคัดออกอย่างน้อย 2 คน ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด คือ แบรด ส่วนอีก 3 คน มิเชล มีปัญหาเรื่องไส้ ที่รสชาติไม่เหมือนต้นฉบับ ฮอลลี่ มีปัญหาเรื่องซอสแจ่วมัลเบอร์รีและ Onion Bloom ไม่เหมือนต้นฉบับ ส่วนแทสทำพอร์กช็อปและไส้ข้างในไม่สุก ผู้ที่ถูกคัดออกทั้ง 2 คนได้แก่ แทสและฮอลลี่
- ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด: มิเชล แทส และฮอลลี่
- ผู้ที่ถูกคัดออก: แทสและฮอลลี่
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 11 คน จะต้องแข่งขันกันต่อในรอบนี้กับโจทย์ "แกงไทย" โดยจะต้องต่อยอดแกงไทยให้เป็นเมนูสุดสร้างสรรค์ โดยมีเวลา 5 นาทีในการเลือกวัตถุดิบในการตำพริกแกง และมีเวลารวม 60 นาทีในการทำอาหาร ผู้ที่ทำอาหารได้ดีที่สุด 2 คน ได่แก่ คุณยุพและคุณแดง โดยทั้งสองคนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในครั้งต่อไป ส่วนผู้ที่ทำอาหารได้ผิดพลาดมากที่สุด 3 คน คือ นุ มิเชล และไม้ซุง โดยความผิดพลาดของทั้งสามคนเป็นความผิดพลาดที่ไม่สามารถให้อภัยได้ ได้แก่ นุ ทำแป้งทอดกรอบไม่สุก ไม้ซุง ทำแป้งดิบเช่นกัน และมิเชล ปริมาณอาหารที่เสริฟน้อยมากและข้าวไรซ์เบอร์รีทอดดิบ ดังนั้นทั้งสามคนจะต้องออกจากการแข่งขัน
- ผู้ชนะ: คุณแดง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: นุ มิเชล และไม้ซุง
ตอนที่ 14: การทำอาหารสำหรับนักเพาะกาย
[แก้]- ออกอากาศ 22 พฤษภาคม 2565
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม ซึ่งในรอบที่แล้ว คุณแดงและคุณยุพ คือผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด จะต้องเป็นหัวหน้าทีม และได้รับสิทธิ์ในการเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม | สมาชิก | สมาชิกสมทบ |
---|---|---|
คุณแดง | อังกฤษ, เจ๊ก, แหม่ม | ไม้ซุง, คุณตึ๋ง |
คุณยุพ | แบรด, เบลล์, เริญ | โหน่ง, อาร์ต |
ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารให้กับนักกีฬาเพาะกายจากสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย จำนวน 30 คน นำโดยเชฟอาร์ ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย โดยอาหารที่ทำจะต้องเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และดีต่อสุขภาพ จากวัตถุดิบหลัก อกไก่ สันในคุโรบุตะ ปลากะพง ปลาเก๋าการ์ตูน นม ไข่ ข้าวโอ๊ต และธัญพืชที่มีโปรตีน มีเวลา 75 นาทีในการทำอาหาร เมื่อหมดเวลาแล้วจะต้องหยุดทันที แต่เนื่องจากในรอบนี้จะต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาที่น้อย รายการจึงให้ตัวช่วยพิเศษ คือ คุณตึ๋ง ไม้ซุง อาร์ต และโหน่ง ซึ่งคุณยุพได้เลือกโหน่งและอาร์ต และคุณแดงได้เลือกไม้ซุงและคุณตึ๋ง อาหารของทีมสีแดง คือ "เจ้านกน้อยคล้อยบินสู่เวหา" ส่วนอาหารของทีมสีน้ำเงิน คือ "หมูไก่เร่งเบ่งกล้าม" เมื่อเสิร์ฟอาหารคาวเสร็จ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารหวานต่อในเวลา 60 นาที จากวัตถุดิบ น้ำผึ้ง ลูกเกด อินทผาลัม กล้วย แอปเปิ้ลเขียว แก้วมังกร และนมถั่วเหลือง ทั้งนี้ ทั้งสองทีมจะต้องเลือกสมาชิกในทีมออก 1 คนทุก ๆ 15 นาที เมื่อเหลือเวลา 3 นาทีสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันทุกคนที่ถูกตัดออกจะมีสิทธิ์มาช่วยทีมของตน เมนูของทีมสีแดง คือ "เจ้าถลาเล่นลมสมฤดี" และจานของสีน้ำเงิน คือ "คัสตาร์ดนมถั่วเหลืองจอมพลัง" หลังจากกรรมการชิมอาหารของทั้งสองทีมแล้ว ทีมที่ชนะ คือ ทีมสีแดง โดยชนะไปด้วยคะแนน 16 ต่อ 14
- ทีมที่ชนะ: ทีมสีแดง
ตอนที่ 15: การทำอาหารจากวัตถุดิบที่จำกัด
[แก้]- ออกอากาศ 29 พฤษภาคม 2565
- บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากที่ทีมสีน้ำเงินแพ้ในภารกิจแบบทีม จะต้องแข่งขันกันต่อในบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยครั้งนี้เป็นเมนูของเฟิร์ส ธนภัทร สุยาว ผู้ชนะการแข่งขันซีซันที่ 2 โดยเมนูที่ใช้ในการแข่งขัน คือ ตือคาตั่ง หรือ ขาหมูเย็น ในรูปแบบพิเศษของเฟิร์ส นั่นคือ "หมูเย็นวุ้นต้มยำมะแขว่นซอสมิโซะ" ซึ่งประกอบด้วย วุ้นหมูเย็นที่อัดแน่นด้วยหูหมู ลิ้นหมู เห็ด และเพิ่มความพิเศษด้วยปลาแซมอนชิ้นโต ตกแต่งด้านบนด้วยวุ้นครีมสต๊อกมะแขว่นแผ่นบาง เสิร์ฟพร้อมซอสมิโซะและน้ำมันผักชี โดยวุ้นหมูเย็นมีความนุ่มและปลาแซลมอนไม่สุก วุ้นครีมสต๊อกมะแขว่นมีความหนาไม่เกิน 0.5 มิลลิเมตร และรสชาติองค์ประกอบทั้งหมดต้องเหมือนต้นฉบับ ทั้งนี้ เฟิร์สได้สาธิตวิธีการทำให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนก่อนการแข่งขัน มีเวลา 55 นาที ในการแข่งขัน ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ เริญ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เริญ
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 7 คน จะต้องแข่งขันกันต่อในรอบความคิดสร้างสรรค์ โดยในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 10,000 บาท เพื่อซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตของมาสเตอร์เชฟมาทำอาหารเสิร์ฟกรรมการ มีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว มี 2 คนที่ทำผลงานผิดพลาดมากที่สุด ได้แก่ คุณยุพ และเบลล์ โดยผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ เบลล์
- ผู้ที่ตกในอันดับอาหารแย่ที่สุด: คุณยุพและเบลล์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เบลล์
ตอนที่ 16: การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ
[แก้]- ออกอากาศ 5 มิถุนายน 2565
ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับนาฬิกาจับเวลา มีเวลารวมในการแข่งขัน 2 รอบ จำนวน 80 นาที
- การแข่งกล่องปริศนา: ในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศรอบแรก จะเป็นโจทย์กล่องปริศนา ซึ่งในกล่องประกอบไปด้วยวัตถุดิบของคาวและของหวาน ของคาว ประกอบด้วย ไส้วัว ตับวัว ผ้าขี้ริ้ว ของหวาน ประกอบด้วย เยลลี่ มาร์ชเมลโล่ แคนดี้ ฝอยทอง และนมข้นหวานผสมเครื่องดื่มมอลต์สกัดรสช็อกโกแลต ให้นำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมผสานให้เข้ากัน ออกมาเป็นอาหาร 1 จานที่มีรสชาติลงตัว โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องกดหยุดเวลาทันทีเมื่อทำเสร็จ เพื่อนำเวลาที่เหลือไปใช้ในการแข่งขันรอบต่อไป ทั้งนี้ ผู้ที่ทำได้ดีที่สุด 1 คนจะได้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศทันที โดยผู้ชนะในรอบนี้ คือ อังกฤษ
- ผู้ชนะ: อังกฤษ
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 5 คนจะต้องแข่งขันกันต่อในเวลาที่เหลือของแต่ละคน โดยคุณยุพและแบรด เหลือเวลาการแข่งขัน 40 นาที เจ๊ก เหลือเวลา 30 นาที แหม่ม เหลือเวลา 29 นาที และคุณแดง เหลือเวลา 24 นาที โดยโจทย์การแข่งขันในรอบนี้ คือ ไข่นานาชนิด ได้แก่ ไข่นกกระจอกเทศ ไข่นกกระทา ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า ไข่ปลาริวกิว ไข่ปลาแซมอน ไข่ปลาบิน ไข่เป็ด และไข่ไก่ หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว มีผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ต้องออกจากการแข่งขัน ได้แก่ คุณแดงและเจ๊ก
- ผู้ที่ถูกคัดออก: คุณแดงและเจ๊ก
ตอนที่ 17-18: การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
[แก้]- ออกอากาศ 12 และ 19 มิถุนายน 2565
- รอบชิงชนะเลิศ: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คน ได้แก่ อังกฤษ แบรด แหม่ม และคุณยุพ จะต้องแข่งขันกันในโจทย์อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizers), อาหารจานหลัก (Main Course) และของหวาน (Dessert) โดยจะแข่งทีละเมนู แต่ละเมนูมีเวลาทำอาหาร 60 นาที และมีเวลาในการหยิบวัตถุดิบในซูเปอร์มาร์เก็ต รอบละ 10 นาที ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้ผิดพลาดมากที่สุดในแต่ละรอบจะถูกคัดออก จนเหลือ 2 คนที่จะต้องแข่งขันในรอบสุดท้าย คือ รอบของหวาน ผู้เข้าแข่งขันที่มีผลงานในภาพรวมดีกว่าจะเป็นมาสเตอร์เชฟคนที่ 5 ของประเทศไทย
- ผู้ที่ถูกคัดออกในรอบอาหารเรียกน้ำย่อย: คุณยุพ
- ผู้ที่ถูกคัดออกในรอบอาหารจานหลัก: แบรด
- รองชนะเลิศ: แหม่ม
- ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 5: อังกฤษ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เริ่มแล้ว MasterChef Thailand Season 5 กับรูปแบบใหม่ที่เฉลิมฉลองความเป็น Home Cook มากกว่าเดิม". thestandard. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
- ↑ "โอกาสมาถึงแล้ว!! มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย ซีซัน 5 ประกาศรับสมัคร ผู้ชื่นชอบการทำอาหาร". entertainment. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
- ↑ "มาสเตอร์เชฟ ซีซั่น 5 กลับมาแล้ว เปิดศึกชิงผ้ากันเปื้อนสุดยิ่งใหญ่!". sanook. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
- ↑ ""เชฟป้อม-เชฟเอียน-พี่อิ๊งค์-ป๊อก"ประสานมือสร้างปรากฏการณ์ใหม่ เปิดศึกชิงผ้ากันเปื้อน MasterChef Thailand Season 5 สุดยิ่งใหญ่!!". banmuang. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
- ↑ "อลังการไปกับ "มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซั่น5" masterchef thailand season 5". postjung. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.